QUALITY STANDARDS

OEKO-TEX

Oeko-Tex_Standard fabrics_Color_RGB

มาตรฐาน OEKO-TEX เป็นระบบการทดสอบและให้การรับรองจากสถาบันที่เป็นอิสระสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผู้ผลิตทั้งหลายภายในห่วงโซ่มูลค่าของสิ่งทอ (textile value chain)

วัตถุประสงค์คือเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอดที่ได้รับการรับรองด้วยป้ายสัญลักษณ์ ‘Confidence in Textiles’ ได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการมาแล้ว ผ้าและสิ่งทอที่มีป้ายสัญลักษณ์นี้ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีอันตรายจากสารตกค้างที่เป็นพิษ (harmful substances)

Confidence in Textiles: เป็นป้ายสัญลักษณ์ของมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 ข้อมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นมาตรฐานทองคำสำหรับการทดสอบผ้าและสิ่งทอที่เป็นเอกเทศเกี่ยวกับสารอันตราย (harmful substances)

รายการการทดสอบฉลากสากลตามมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตรวจสอบได้และทบทวนใหม่ในทุกปีตามกฎหมายและงานวิจัยล่าสุด รวมถึงรายการดังต่อไปนี้

  1. สารที่ให้โทษหรือผิดกฎหมาย อย่างเช่น carcinogenic colorants (ก่อให้เกิดมะเร็ง)
  2. สารปนเปื้อนหรือถูกควบคุม อย่างเช่น โลหะหนัก (สารตะกั่ว ปรอท ฯลฯ)
  3. สารซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่ได้ถูกควบคุม/ผิดกฎหมาย อย่างเช่น ยาฆ่าแมลง สีย้อมผ้า (ทำให้เกิดอาการแพ้)
  4. ตัวแปรหรือปัจจัย อย่างเช่น สีไม่ซีดจาง (ความคงทนของสี) และมีค่าความเป็นกรด-เบสที่เป็นมิตรต่อผิวหนัง (เป็นมิตรต่อผิวหนังที่แพ้ง่าย) ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้า (precautionary measures) เพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค


สิ่งทอเชิงนิเวศ (Textiles ecology) ประกอบด้วย 4 ส่วน

1. การผลิตเชิงนิเวศ

ทดสอบผลกระทบของกระบวนการผลิตที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัย วัสดุ น้ำ และการใช้พลังงาน น้ำทิ้งและการบำบัดของเสีย รวมทั้งการก่อให้เกิดฝุ่นและเสียงรบกวน

2. มนุษยนิเวศวิทยา

มนุษยนิเวศวิทยา เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสิ่งทอและส่วนประกอบทางเคมีของพวกมันที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์

3. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ อยู่ในขั้นตอนการใช้งานของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ มันเป็นการทดสอบเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการซักล้าง การทำความสะอาด และการดูแลรักษาสิ่งทอ

4. การจัดการเชิงนิเวศ

ตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การนำมาใช้ใหม่ การแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัด (แปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือฝังกลบ) เกี่ยวกับสิ่งทอ

ผลิตภัณฑ์สิ่งทออาจได้รับการรับรองตาม OEKO-TEX Standard 100 หากองค์ประกอบทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้โดยไม่มีข้อยกเว้น

การรับรองดำเนินการตามใบสมัครที่เป็นลายลักษณ์อักษรของบริษัทผู้ผลิตที่ส่งไปยังหนึ่งในสถาบันทดสอบที่ได้รับมอบหมายหรือสำนักงานที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการทั่วโลก สิ่งทอตัวอย่างที่ได้ส่งมอบจะได้รับการทดสอบอย่างเฉพาะเจาะจงที่สถาบันซึ่งเป็นสมาชิกในยุโรปและญี่ปุ่น

สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก่อนได้รับหนังสือรับรอง ก็คือการจัดทำใบรับรอง (Declaration of Conformity) โดยบริษัทผู้ผลิต เพื่อแสดงว่าตัวอย่างสิ่งทอที่ได้รับการทดสอบสำเร็จลุล่วงนั้นสอดคล้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต หรือจัดจำหน่ายตลอด 12 เดือนตามระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำก่อนได้รับหนังสือรับรอง ก็คือการตรวจสอบบัญชีของบริษัทโดยผู้ตรวจบัญชีจากสถาบันทดสอบของ OEKO-TEX พร้อมกับการสมัครของบริษัทเพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือในคุณภาพและกระบวนการการผลิตของบริษัท เพื่อสร้างความเป็นไปได้ให้มากที่สุดสำหรับการได้รับหนังสือรับรองและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านมนุษยนิเวศวิทยาสำหรับความต่อเนื่องในการรับรอง

การรับรองของ OEKO-TEX ยังรวมถึงการควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปซึ่งเป็นส่วนตายตัวของระบบ สิ่งเหล่านี้ทำให้บรรลุผลสำเร็จในตลาดโดยสถาบัน OEKO-TEX เพื่อรับรองว่าเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดทุกประการ

LABOTEX

labotex_logo_original

Labotex เป็นสถานบันที่ให้การรับรอง ISO ที่เป็นอิสระในประเทศเบลเยียมเพื่อให้บริการกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านด้วยสิ่งทอ หมายความว่าการทดสอบใดๆ ซึ่งดำเนินการที่ Labotex จะได้รับการรับรองภายใต้มาตรฐาน ISO

Labotex เชื่อว่าความเข้าใจที่ลึกซึ้งตามหลักวิทยาศาสตร์ในด้านประสิทธิภาพและลักษณะของสิ่งทอเพียงเท่านั้นที่จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่องได้ ไม่ว่าตลาดของคุณจะอยู่ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือระดับสากล Labotex จะทำการทดสอบสิ่งทอให้กับคุณเพื่อช่วยให้คุณสร้างความมั่นใจว่าสิ่งทอของคุณนั้นดีที่สุดสำหรับพวกเขา

Labotex ดำเนินการทดสอบทางเทคนิคที่มีความหลากหลาย (รวมถึงการทดสอบ Martindale และ Wyzenbeek) ด้วยมาตฐานที่มีความเข้มงวดโดยองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำ มาตรฐานเหล่านี้รวมถึง

  • ISO (มาตรฐานสากล)
  • EN (มาตรฐานยุโรป)
  • BS (มาตรฐานอังกฤษ)
  • IMO (มาตรฐานทางทะเลระหว่างประเทศ)
  • ASTM (มาตรฐานอเมริกา)

ทั้งการทดสอบ Martindale (สากล) และ Wyzenbeek (อเมริกา) ประเมินความทนทานของสิ่งทอต่อรอยขีดข่วน (การลาก การครูด การสึกหรอ และการเช็ดถู) ทั้งสองวิธีการนี้ใช้เพื่อบอกล่วงหน้าถึงความทนทาน ประสิทธิภาพที่แท้จริงพิจารณาด้วยหลากหลายปัจจัย รวมถึง

  • การทดสอบเส้นใย
  • การถักทอ
  • ลวดลายการตกแต่ง
  • การดูแลรักษา
  • การทำความสะอาด
  • การใช้งาน

อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าสิ่งทอที่ได้คะแนน 30,000 Wyzenbeek แล้วจะได้คะแนน 40,000 Martindale อย่างแน่นอน เพราะนั่นมักจะเป็นการคาดคะเนที่ผิดพลาด Martindale สามารถมีคะแนนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า ท่านจะต้องทดสอบมันเพื่อได้คะแนนที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น การใช้งาน Heavy Duty คุณอาจได้สองเท่าของ 30,000 สำหรับวิธีการ Wyzenbeek หรือ 40,000 รอบของวิธีการ Martindale